TPM

บริษัท สลาแมนเดอร์ จิวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตเครื่องประดับร่างกาย ได้นำระบบ TPM มาใช้กับองค์กร เมื่อปี พ.ศ.2013 เมื่อก่อนผมเคยคิดนะว่าทำ TPM เพื่ออะไร ทำไปทำไม (ยังไม่รู้ความหมายนะครับ รู้แต่ชื่อ)แต่พอได้เข้าอบรม และรู้ความหมายของ TPM ต้องบอกเลยว่าได้เล็งเห็นประโยนช์อันมีค่ามากและคิดว่ามีความสำคัญกับบริษัทและพนักงานทุกคนเป็นอย่างมาก ความหมายของ TPM มี 5 ข้อด้วยกัน ซึ่งจะต้องมีให้ครบโดยจะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้

1.การสร้างความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตมีค่าสูงสุด

2.การป้องกันการสูญเสียทุกประเภท โดยพนักงานระดับปฏิบัติการเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ (เพื่อให้มั่นใจว่า เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์,อุบัติภัยเป็นศูนย์ และของเสียเป็นศูนย์)

3.ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน TPM รวมทั้งฝ่ายวิจัย และพัฒนา, ฝ่ายขาย และสำนักงาน

4.ทุก ๆ คนในองค์กรมีส่วนร่วม ตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุด จนถึงพนักงานระดับปฏิบัติการ

5.ดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อยเพื่อลดความสูญเสียให้หมดไป

TPM ของบริษัท มีทั้งหมด 8 เสาหลัก ดังนี้

TPM

ปัจจุบันบริษัทได้จัดทำ ทั้ง 8 เสาแล้วนะครับ สิ่งที่เป็นผลประโยนช์ต่อบริษัท เครื่องเสียเป็นศูนย์ ของเสียเป็นศูนย์ (ตามนโยบาย TPM  ของบริษัท) หากเครื่องจักรไม่เสีย ไม่หยุดชะงัก การผลิตสิ้นค้าก็รวดเร็วสามารถส่งของให้กับลูกค้าได้ตามกำหนดถูกต้อง และมีคุณภาพ ทำให้ไม่มีของเสีย สามารถลดค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทได้อีกด้วย แค่นี้ก็สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าแล้ว และยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรอีกด้วย สิ่งที่เป็นผลประโยนช์ต่อพนักงานทุกคน อุบัติเหตุเป็นศูนย์ (ตามนโยบาย TPM  ของบริษัท) พนักงานมีความเชื่อมั่นในการทำงานกับเครื่องจักรมากขึ้น และทำงานอย่างปลอดภัย แค่นี้ก้อสามารถลดอุบัติเหตุจากการทำงานได้แล้ว สรุปแล้ว TPM ของบริษัท จะเน้นการพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ความสามารถในการบำรุงรักษาด้วยตนเอง และเน้นพัฒนาระบบการบริหารทั้งองค์กร ในการปฎิบัติงาน ทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือกัน และแก้ไขปัญหา เพื่อลดการสูญเสียในทุกเรื่อง