ระบบ

1. TPM

บริษัท สลาแมนเดอร์ จิวเวอรี่ จำกัด มีความมุ่งมั่น และตั้งปณิธานที่จะเป็นผู้นำในการผลิตเครื่องประดับกายที่มีคุณภาพ การทำงานที่ปลอดภัย รักษาสภาพแวดล้อม และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานตามมาตรฐานสากล โดยพนักงานทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อบรรลุความพึงพอใจของลูกค้า

นโยบาย TPM ของบริษัทฯ เน้นการพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ในการบำรุงรักษาด้วยตนเอง และพัฒนาระบบการบริหารทั่วทั้งองค์กร ให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรในการปฏิบัติงานที่ดีงาม ทุกหน่วยงานมีความสามัคคี ช่วยเหลือกันแก้ไขปัญหา เพื่อลดการสูญเสียในทุกเรื่อง และลดสิ่งไม่พึงปรารถนาให้เป็นศูนย์ (Zero Loss)

เพื่อให้บรรลุถึงนโยบายดังกล่าว บริษัทฯ จะดำเนินการดังนี้

1. ส่งเสริม สนับสนุนให้พนักงานทุกคน มีความรู้ ความเข้าใจ ใน TPM และสามารถนำความรู้ไปใช้ ในการดำเนิน กิจกรรม “การบำรุงรักษาด้วยตนเอง” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

2. สร้างองค์กรศักยภาพสูง โดยความร่วมมือของพนักงานทุกคน

3. บริษัทมุ่งมั่นในการยกระดับกำลังการผลิตและคุณภาพที่ดี ของเสียเป็นศูนย์ เครื่องเสียเป็นศูนย์

4. พัฒนาการผลิตให้รวดเร็ว ถูกต้อง และมีคุณภาพ

5. ลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน

2. Kaizen

บริษัท สลาแมนเดอร์ จิวเวอรี่ จำกัด ประกอบกิจการผลิต และค้าเครื่องประดับที่ทำจากอัญมณีประเภท โลหะ พลาสติก กระดูกสัตว์ ทอง นาค เงิน รวมทั้งวัตถุทำเทียม มีความตระหนัก และมุ่งมั่นพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์อยู่เสมอเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี อันจะนำมาซึ่งโอกาสในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้มากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต และกระบวนการปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การเพิ่มผลิตภาพเป็นความจำเป็นในการดำเนินการ และพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน และเป็นกิจกรรมที่พัฒนาบุคลากรให้ดึงเอาความสามารถที่ซ่อนอยู่มาปรับปรุงหน่วยงานของตนให้มีการทำงานที่มีคุณภาพมากขึ้น ความสูญเสียน้อยลง รวมไปถึงความรู้สึกผูกพันกับหน่วยงาน และองค์กรมากยิ่งขึ้น สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บังคับบัญชา แลผู้ใต้บังคับบัญชา

บริษัทจึงได้นำไคเซ็น (Kaizen) มาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการทำงาน เพื่อเพิ่มผลิตภาพในการดำเนินงาน ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมเนื่องจากได้มีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร และยังส่งเสริมพฤติกรรมการทำงานของผู้ปฏิบัติในทิศทางที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อองค์กรและตัวของผู้ปฏิบัติงานเองอย่างยั่งยืน ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2558 เป็นต้นไป

3. Lean

Lean เป็นกระบวนการผลิตที่มุ่งลดความสูญเปล่าจาการใช้ทรัพยากรที่ไม่สร้างมูลค่าเพิ่มกับสินค้า รวมถึงแนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วยการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ (Human capital)ไม่ได้มุ่งแน้นการลงทุนในเทคโนโลยี แต่มุ่งการปรับปรุงโดยมีตัวพนักงานเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ

LEAN เป็น holistic & sustainable approach ที่ใช้ทุกสิ่งทุกอย่างให้น้อยลงแต่ให้ผลงานมากกว่า ผลงานที่ใกล้เคียงความต้องการของลูกค้ามากที่สุด การผลิตแบบ LEAN เป็นการสร้างสินค้า และบริการโดยใช่ปํจจัยการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยที่ผลผลิตที่ได้จากกระบวนการต้องมีประโยชน์ในด้านที่ใข้ และเกิดประโยชน์ มีรูปลักษณ์ที่สวยงาม ผลิตในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ ผลผลิตทันเวลา

แนวคิดของ lean มุ่งปรับปรุงประสิทธิภาพ ผลการดำเนินงานด้วยการสร้างให้เกิดการไหลของงาน ตลอดทั้งกระบวนการอย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องจำแนกความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในสายการผลิต เพื่อขจัดความสูญเปล่า 7 ประการ และเพิ่มผลผลิตดังนี้

1. ผลิตมากเกินไป (Over Production) ผลิตสินค้ามากกว่าที่ลูกค้าต้องการ และผลิตสินค้าก่อนความต้องการ

2. มีกระบวนการผลิตมากเกินไป (Over processing) ขั้นตอนการผลิตมากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดความล่าช้ามีผลกระทบต่อการจัดส่งสินค้า

3. การขนย้าย (Transportation) การขนส่ง ขนย้ายที่มากเกินไปหรือระยะทางที่ยาวไกลส่งผลกระทบต่อต้นทุน และเวลาในการผลิต

4. สินค้าคงคลัง (Inventory) การมีสินค้าคงคลังมากเกินความจำเป็นทำให้การ ไหลของผลิตภัณท์ Flow ไม่ดีเท่าที่ควร

5. การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion) การเคลื่อนไหวร่างกายโดยไม่จำเป็นทำให้สูญเสียเวลาในการผลิต

6. การรอคอย (Waiting) การรอคอยต่าง ๆ ไม่ให้ประโยชน์ต่อการผลิตเป็นการเสียเวลา เช่น รอเครื่องจักร, รออะไหล่, รอคำสั่ง ,รอการขนย้าย, รอการตรวจสอบ

7. การเกิดของเสียและการแก้ไขชิ้นงานเสีย (Defect & Rework) การผลิตของเสียส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุน และเมื่อไม่สามารถควบคุมของเสียได้ ย่อมมีผลกระทบต่อการวางแผนการผลิต และการส่งมอบสินค้าได้ถ้าของเสียหลุดไปถึงลูกค้ายังมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในตัวผลิตภัณท์

4. 6S

บริษัทได้พิจารณาเห็นว่า 6ส. เป็นกิจกรรมที่มีคุณประโยชน์ทั้งต่อผู้ทำกิจกรรม และบริษัท ทั้งเป็นรากฐานที่สำคัญต่อระบบคุณภาพต่างๆ และประการสำคัญจะช่วยให้พนักงานเป็นบุคคลที่มีคุณภาพทำงานมีประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิต ซึ่งจะเกิดผลดีต่อส่วนรวมและพนักงานทุกคน บริษัทจึงกำหนดนโยบายไว้เป็นกรอบและแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

1. ผู้บริหาร และผู้บังคับบัญชาตามสายงานทุกระดับ และทุกคนจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรม 6ส. จนสามารถอธิบาย และตอบคำถามในเรื่องความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ 6ส. ได้

2. พนักงานทุกคนจะต้องได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้ และความเข้าใจตลอดจนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อกิจกรรม 6ส.

3. ผู้บังคับบัญชาทุกคนจะต้องถ่ายทอดความรู้เรื่อง 6ส. ให้แก่พนักงานใหม่ในความรับผิดชอบของตนอย่างถูกต้อง ถ่องแท้ และครบถ้วนสมบูรณ์ จนสามารถทำ 6ส. ได้

4. บริษัทฯ จัดให้มีคณะกรรมการ 6ส. บริหารโครงการ 6ส. ให้บรรลุผลในการสร้างวินัยให้แก่พนักงานทุกคน

5. บริษัทจะติดตามรายงานผลการทำกิจกรรม 6ส. และติด ประกาศแจ้งให้พนักงานได้รับรู้ความก้าวหน้าของการทำกิจกรรมในแต่ละพื้นที่โดยทั่วกัน

6. บริษัทถือว่าการทำกิจกรรม 6ส. เป็นหน้าที่ตามปกติของพนักงานนับตั้งแต่ผู้จัดการลงไปจนถึงพนักงานของบริษัททุกคนโดยไม่มียกเว้น

7. ผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชาตามสายงาน และพนักงานผู้ใดไม่ร่วมในการทำกิจกรรม 6ส. จะถือว่าไม่สนองนโยบายของบริษัทฯ

8. บริษัทฯ กำหนดทุกพื้นที่มีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย และต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 90%